ในยุคที่หันไปทางไหนก็มีแต่คนที่รักสุขภาพแบบนี้ หลายคนก็มักที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการควบคุม และเลือกที่จะรับประทานอาหาร รวมไปถึงการ ออกกำลังกาย เรามาดูกันว่าข้อมูลที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ตเนี่ย จริงหรือมั่วกันแน่ ?
ความเชื่อในเรื่องของการออกกำลังกาย
1 ห้ามดื่มน้ำก่อนที่จะทำการออกกำลังกาย เพราะจะทำให้จุก
การที่เราดื่มน้ำมากๆก่อนที่จะออกกำลังกายทันทีอาจจะทำให้เกิดอาการจุกแน่นได้ เนื่องจากน้ำยังไม่สามารถที่จะเดินทางไปถึงทางเดินอาหารส่วนล่างได้ แต่อย่างไรก็ตามเราควรดื่มน้ำประมาน 200 – 300 cc. ก่อนที่จะทำการออกกำลังกายประมาณ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย และในระหว่างออกกำลังกายควรจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อตัวเองได้
2 การออกกำลังกายในระหว่างท้องว่าง จะช่วยเผาผลาญไขมันได้เพิ่มขึ้น
การออกกำลังกายในขณะที่ท้องว่างนั้นจะทำให้ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายลดลง ดังนั้นก่อนที่จะออกกำลังกายควรที่จะรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ที่ย่อยได้ง่าย ก่อนทำการออกกำลังกาย 30 นาทีเป็นอย่างน้อย เช่น กล้วย ลูกเกด เพื่อให้ร่างกายมีสารอาหารเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมให้มีพลังงานเพื่อที่จะออกกำลังกาย สำหรับการเผาผลาญไขมันจะดีขึ้นหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการออกกำลังกายเป็นหลัก
3 เหงื่อออกมากจะสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้มาก
เหงื่อออกมากในขณะที่ออกกำลังกาย ซึ่งเกิดจากการขับน้ำเพื่อที่จะลดอุณภูมิของร่างกาย ส่วนการเผาผลาญนั้นจะขึ้นอยู่กับแคลอรี่และขึ้นอยู่กับกิจกรรมรวมถึงระยะเวลาในการออกกำลังกาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งสองอย่างนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย การที่มีเหงื่อออกมากกลับทำให้ร่างกายนั้นเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะอื่นๆตามมาได้ ดังนั้นถ้าเกิดมีเหงื่อมากในขณะที่ออกกำลังกายควรจิบน้ำบ่อยๆ
4 วิ่งมากจะสามารถทำให้เข่าเสียได้
ในลักษณะของการวิ่งที่มีผลเสียต่อเข่า คือ การวิ่งที่มีก้าวที่ยาวเกินไป ซึ่งทำให้ปลายเท้ามีลักษณะที่ยื่นเกินปลายเข่า ทำให้จังหวะที่จะก้าวลงพื้นจะลงด้วยส้นเท้า และเกิดแรงไปกระทำที่ข้อลูกสะบ้าเข่าสูง ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่ลูกสะบ้า เพื่อลดการวิ่งที่มีก้าวยาวเกินไป เราอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีการวิ่งด้วยการซอยเท้าให้มีความถี่ยิ่งขึ้น ร่วมกับการงอลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เท่านี้ก็จะสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บที่ลูกสะบ้าเข่าได้ ทางที่ดีผู้วิ่งควรที่จะสังเกตการวิ่งของตัวเองและค่อยๆปรับแก้เพื่อการวิ่งที่ดีขึ้น
5 ยิ่งเล่นให้เจ็บ ยิ่งต้องซ้ำ จะได้หายเจ็บ
สำหรับการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง คือ การบริหารกล้ามเนื้อโดยการใช้น้ำหนักที่เหมาะสม ตัวมัดกล้ามเนื้อก็จะยิ่งได้รับการฝึกฝนจะเกิดการบาดเจ็บในระดับเส้นใยไฟเบอร์ ร่างกายจะสามารถกระตุ้นการสร้างโปรตีน เพื่อที่จะสร้างความแข็งแรงและขนาดให้กับกล้ามเนื้อนั้นๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยขึ้นหลังจากที่เล่นเวทเทรนนิ่งได้ แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกายควรที่จะต้องมีการพักผ่อนเพื่อที่จะให้มีเวลาในการฟื่้นฟูกล้ามเนื้อ ถ้าหากว่าเราออกกำลังกายซ้ำเร็วเกินไป เพราะจะทำให้ไม่เกิดการพัฒนาของกล้ามเนื้อ รวมถึงจะทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ ทางที่ดีไม่ควรที่จะออกกำลังกายซ้ำในบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพราะว่าอาจจะทำให้มีผลเสียต่อการใช้งานในอนาคต รวมไปถึงการบาดเจ็บขั้นรุนแรง และทำให้เกิดการรักษาซับซ้อนยิ่งขึ้น